ตามที่บทความก่อนหน้านั้นผมได้เขียนการตรวจสอบสถานะทางการเงินของนักลงทุน ตอนที่ 2 เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูอีกหลากหลายแนวทางในการเริ่มต้นก่อนการลงทุนในข้อต่อๆไป ของนักลงทุนที่ดีนะครับเริ่มจาก
เป้นรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการดำเนินชีวิตของตัวนักลงทุนและครอบครัว ซึ่งก้ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง ค่าอะไรอีกหลายๆ อย่างจิปาถะ ถือว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตเป็นส่วนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นส่วนที่จำเป็นที่จะต้อลใช้ในการดำรงชีวิติขั้นพื้นฐาน
ภาระหนี้สิน
เป็นรายการที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการกู้ยืมเงินจึงเป็นภาระหรือพันธะที่ผูกพันทางการเงินตามกฏหมายที่ผู้กู้จะต้องรับผิดชอบโดยจะจ้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามเงือนไขที่ระบุไว้ในสัญญาการกู้ยืม ซึ่งหากเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง เช่นถูกยึดทรัพย์ หรือฟ้องร้องล้มละลาย
เงินประกัน
เป็นรายการที่เกิดขึ้นในกรณีที่เราต้องการเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน หรือความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่นเงินประกันชีวิต เงินประกันอุบัติเหตุอุบัติภัยต่างๆ เงินประกันสุขภาพ จัดเป็นส่วนที่ใช้สำหรับการสร้างหลักประกันในชีวิตให้แก่ตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี
เงินสำหรับการวางแผนในอนาคต
เป็รส่วนหนึ่งที่มีไว้สำหรับการวางแผนงานต่างๆ ที่เราคาดหมายไว้ในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือความต้องการ เช่นเงินค่าศึกษาเล่าเรียนต่อของตนเอง เงินสำหรับการศึกษาของบุตร เงินสำหรับจะซื้อบ้าน หรือซื้อรถคนใหม่ แน่นอนหากเรามีการวางแผนที่ชัดเจนแล้วละก็ เราก็ต้องควรที่จะวางแผนเก็บเงินไว้เพื่อทำให้เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้เป็นจริงเสียก่อน ที่จะนำเงินมาลงทุน
ผมขอแนะนำนักลงทุน ว่าสิ่งสำคัญที่สุด ท่านไม่ควรคิดว่าจะใช้เงินที่ได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาใช้จัดการกับภาระทางการเงินที่ผมกล่าวมาข้างต้นเด็ดขาด เนื่องจากการลงทุนใดๆ ก็ย่อมจะมีความไม่แน่นอนแฝงอยู่เสมอ ซึ่งอาจเป็นจุดที่ทำให้เราประสบกับปัญหาทางการเงินได้
โดยเงินที่เราจะนำมาลงทุนในตลาดหุ้น ควรเป็นเงินส่วนที่เหลือเก็บ หลังจากที่เราได้เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตรวมทั้งการจัดการภาระทางการเงินด้านอื่นๆ ที่เรียบร้อยแล้ว
แสดงความคิดเห็น