GuidePedia

0
"กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)"เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ ภาครัฐบาลให้การสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออม และการลงทุนของบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมสะสมไว้สำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ

ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินปีละ 15% ของเงินได้ หรือไม่เกินปีละ 300,000 บาท ทั้งนี้ ให้นับรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)


สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับของผู้ลงทุนในกองทุน RMF

  •  เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF ในแต่ละปีสามารถนำไปใช้สิทธิเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท
  • เงิน หรือผลประโยชน์ (capital gain) ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับเฉพาะปีที่ลงทุน) จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมา กรณี ทุพพลภาพ หรือตาย จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน
  • ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์ทางอ้อม เนื่องจากกองทุน RMF เป็นกองทุนรวมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่นับเป็นหน่วยภาษี ดังนั้นผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนของกองทุนRMF จึงไม่ต้องเสียภาษีและผู้ลงทุนจะได้รับผลประโยชน์ในส่วนนี้อย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วย

RMF เหมาะกับกลุ่มคนกลุ่มใด

  • บุคคลธรรมดาที่ต้องการประหยัดภาษีเงินได้ ทำให้เสียภาษีลดลงในแต่ละปี
  • ผู้ที่ต้องการสะสมเงินออมเพื่อเป็นหลักประกันแก่ตนเองและครอบครัวยามพ้นวัยทำงานหรือเกษียณอายุ
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนายความ ฯลฯ
  • ลูกจ้างที่นายจ้างไม่ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( Provident Fund )
  • ข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • ลูกจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือข้าราชการที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว และประสงค์ที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในแต่ละปี ไม่เกินปีละ 15% ของเงินได้ หรือไม่เกิน 300,000 บาท

แสดงความคิดเห็น

 
Top